1. ข้อบังคับโคลงสี่สุภาพ
เราต้องรู้อะไรกันบ้างในส่วนนี้
1.1 บทหนึ่งมีกี่บาท
1.2 บาทหนั่งมีกี่วรรค
1.3 วรรคหนึ่งๆ มีกี่พยางค์
1.4 บังคับสัมผัสตรงไหน
1.5 บังคับรูปวรรณยุกต์ที่พยางค์ใด
เรามาารู้จักแผนผังของโคลงสี่สุภาพกันก่อนนะครับ
ตัวอย่าง
จากมามาลิ่วล้ำ บางยี่เรือราพลาง เรือแผงช่วยพานาง บางบ่รับคำคล้อง | ลำบาง พี่พร้อง เบียงม่าน มานา คล่าวน้ำตาคลอ |
ข้อบังคับโคลงสี่สุภาพ
1. บทหนึ่งมี 4 บาท เขียนบาทละหนึ่งบรรทัด บาทหนึ่งๆ มี 2 วรรค เรียกว่า วรรคหน้า กับ วรรคหลัง
2. วรรคหน้ามี 5 พยางค์ทุกบาท วรรคหลังของบาทที่ 1,2 และ 3 มี 2 พยางค์ วรรคหลังของบาทที่ 4 มี 4 พยางค์
นอกจากนี้วรรคหลังของทุกบาท ยกเว้นบาทที่ 2 อาจมีคำสร้อย ซึ่งมี 2 พยางค์
3. สัมผัสบังคับ ให้ดูตามแผนภูมด้านบนครับ
4. วรรคยุกต์บังคับ "รูป" ไม่คำนึงถึงเสียง พยางค์ที่มี ไม้เอก เรียก คำเอก พยางค์ที่มี ไม้โท เรียก คำโท
5. คำเอก ผ่อนผันให้ใช้คำตายแทนได้
*คำตายคือคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในมาตราแม่ กก, กด, กบ (จำง่ายๆ ครับว่า กบด) ซึ่งไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่นคำว่า โหด, แหลก, ตระ
2. คำสร้อย
คำสร้อยคือ คำที่แต่งเติมขึ้นมาเพื่อให้ครบกระแสความ ซึ่งถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องครับ คำสร้องจะต้องมีอย่างละ 2 คำเสมอ โดยคำแรก
จะเป็นคำที่เิ่พิ่มความสมบูรณ์ของโคลง ส่วนคำหลังจะลงท้ายด้วยคำที่ไม่มีความหมายเช่น นา นอ เนอ พ่อ แม่ พี่ แล เลย เอย ฤา ฮา
ตัวอย่าง
ตราบขุนคิริขัน รักบ่หายตราบหาย สรุยจันทร์ขจาย ไฟแล่นล้างสี่หล้า | ขาดสลาย แลแม่ หกฟ้า จากโลก ไปฤา ห่อนล้างอาลัย |
3. คำ หรือ พยางค์
ที่เราเรียกกันว่า เอกโทษ โทโทษ คือคำตามปกติใช้ไม้เอก แต่เมื่อคิดหาคำมาใช้ไม่ได้ก็ใช้คำตามปกติเพียงแต่เปลี่ยนเป็นไม้โทแทน
เช่นคำว่า ท่วม เปลี่ยนเป็น ถ้วม ช่วย เปลี่ยนเป็น ฉ้วย เพื่อให้ลงสัมผัสนั่นเองครับ
ตัวอย่าง
เรียนร่ำน้ำเนตรถ้วม พาหมู่สัตรว์จ่อมจม พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม หากอกนิษฐ์พรหมฉ้วย | ถึงพรหม ชีพม้วย ทบท่าว ลงนา พี่ไว้จึ่งคง |
4. ข้อห้าม
4.1 ห้ามใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์สำหรับพยางค์สุดท้ายในวรรคของบาทที่ 1 และพยางค์ที่ 5 ของวรรคหน้าบาทที่ 2 และ บาทที่ 3
4.2 ห้ามใช้คำตายแทนตำแหน่งโท
4.3 ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรุปวรรณยุกต์สำหรับพยางค์สุดท้ายของบาทที่ 4 (นิยมใช้เสียงจัตวากันมาก)
เพิ่มเติม
คำตายที่ใช้แทนในตำแหน่งเอก
หลายคงคงยังไม่เข้าใจถึงคำตายที่ชัดเจนมากนักนะครับ ในโคลงสี่สุภาพคำตายที่เราสามารถนำมาใช้แทนตำแหน่งเอกได้ เช่น
คำว่า ระ เพริศ เสพ ปราชญ์ สุข ดุจ ส่วนสัมผัสอักษรหรือสัมผัสพยัญชนะได้แก่
เสียง พ เสียง ส เสียง ม เสียง ร เสียง ค | พ้อ พัน หา พา เพริศ เสพ เสน่หา สุข ซาบ ม้วย ไม้ ระ รวย รส คน ความ |
ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ
เอก 7 โท 4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น